กัญชา หางกระรอกภูพาน

เป็นสายพันธุ์กัญชาไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งในคัมภีร์ตัวยาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าถ้าจะนำกัญชามาทำยารักษามะเร็งต้องเป็น “พันธุ์หางกระรอกภูพาน” มีการปลูกที่เทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร

ด้านหนองหานหลวงเป็นด้านทิศตะวันออก ไม่ใช่ฝั่งกาฬสินธุ์ คือด้านรับแดดเช้า ไม่ใช่กัญชารับแดดเย็นและจะให้ดีที่สุดต้องเป็นกัญชาที่มี 7 ใบ เรียกว่า “ใบเพสลาด” ซึ่งถือเป็นยา ทั้งนี้ต้นกัญชาที่มี 7 ใบ จะมีอยู่ในบางพื้นที่เท่านั้นที่ติดภูพาน ซึ่งมี 3 อำเภอ

ทุกคนมักเข้าใจผิดในการใช้กัญชาแห้งมาทำเป็นยา เช่นพวกที่กำลังทำยากัญชาใต้ดินทั้งหลาย แท้จริงแล้วกัญชาแห้งเป็นกัญชาสูบ

ในตำรับยาไทย 10 กว่าตำรับจะใช้ “กัญชาสด” ในการทำยา นี่คือเหตุผลว่าทำไมประเทศต่างๆ เช่น อิสราเอลเอากัญชาจากไทยไป 40 ปี อังกฤษเอาไป 20 กว่าปี สเปนเอาไป 20 ปี ทุกแห่งนำไปรักษามะเร็งไม่ได้ บอกแต่ว่าใช้เพื่อวิจัยเพราะว่าไม่ใช่กัญชาสดแต่เป็นกัญชาแห้ง

ในส่วนของประเทศไทย ถ้าจะใช้กัญชาทำยาต้องไม่ลงดิน ส่วนกัญชาสูบต้องลงดินและใส่ปุ๋ยขี้ไก่เพื่อให้กัญชามีกลิ่นหอม

แต่สำหรับกัญชาใช้ทำเป็นยาจะใส่ไม่ได้เพราะจะเป็นสารพิษตกค้าง และต้องปลูกกัญชาในถุง เมื่อปลูกในถุงเสร็จประมาณ 2 เดือนกว่าๆ รากจะแทงตัวออกมา และใช้รากกัญชานี้เพื่อนำไปทำเป็นยารักษาเด็กชื่อว่า “ยาไฟอาวุธ” เหตุที่ใช้รากกัญชาเพราะเด็กไม่ต้องการสารเมา เคลิบเคลิ้ม (THC)

เมื่อใช้รากทำยาจึงต้องปลูกกัญชาในถุง หลังจากนั้นสักระยะรอกัญชาเป็นดอกโต จนออกดอกเรียกว่า “ไส้ปลาช่อน” ซึ่งยังไม่ใช่ดอกแก่ โดยจะดูที่ต้นครึ่งล่างของกัญชาแล้วริดใบแก่ออกมา จากนั้นนำใบไปคั่วเหมือนชาอู่หลง และเอาไปทำยาชื่อว่า “ยาทัพยาธิคุณ”

รักษาโรคเบาหวาน กล่าวคือโรคเบาหวานไม่ใช้ดอกกัญชาแต่จะเป็นใบกัญชาแก่ครึ่งต้นล่าง จากนั้นปล่อยให้ดอกแทงหน่อพอดอกเป็นไส้ปลาช่อนก็จะเก็บดอกที่เป็นไส้ปลาช่อนไปทำยาชื่อว่า “ยาพรหมพักตร์น้อย”

รักษาโรคเข่าเสื่อม

และเมื่อดอกกัญชาแก่จะออกมาอีกอย่าง หางจะเป็นกระรอกจึงเรียกว่าพันธุ์หางกระรอก ซึ่งจะถูกนำไปส่องดูเรซิน ถ้าหากตัวเรซินใสๆ หมายถึงไม่มีสารยาคือสาร THC แต่ถ้าขุ่นครึ่งหนึ่งให้เก็บทันที และเมื่อได้ดอกกัญชาแก่เต็มที่กับใบส่วนบน มักจะเอาไปปั่นเป็นน้ำสดๆ

แบบพวกน้ำผลไม้ปั่น (juicer) แล้วนำน้ำกัญชาปั่นไปหุงกับน้ำมันงาจะได้เป็นยาที่มีบันทึกไว้ที่วัดโพธิ์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ชื่อว่า “ยาสนั่นไตรภพ” ใช้รักษาโรคมะเร็งตับ

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.