ข้อมูลสถิติจากธนาคารแห่งประเทศไทยอ่านแล้วน่าตกใจจัง ….
1.คนทั่วไปเป็นอย่างไร?
เมื่อถึงวัยเกษียณ
1%. = ร่ำรวย เป็นเศรษฐี
4%. = มีเงินใช้สุขสบาย
7%. = พอช่วยเหลือตัวเองได้
40% = ต้องพึ่งพาลูกหลาน สถานสงเคราะห์
48% = ยังคงต้องดิ้นรน ทำงานหนักแม้จะแก่แล้ว
สรุป สำเร็จแค่ 5%.
ล้มเหลว. 95%
2.ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต คนไทย
ค่าอาหาร / 1คน 1 วัน 3 มื้อ
1ปี 3×365 วัน = 1,095 มื้อ
– ถ้ากินมื้อละ 30 บาท ต้องใช้เงิน = 32,850 บาท/ปี
– ถ้ากินมื้อละ 50 บาท ต้องใช้เงิน = 54,750บาท/ปี
สรุป
ตอนที่เราอายุ 60 ปี ต้องมีเงินเก็บก่อนเกษียณ
ก่อนรายได้จะหมด หากอายุเกิน 60 ปี แล้วการมีรายได้นั้นยากยิ่งนัก
เกษียณอายุ 60 หากตายอายุ 85 ส่วนต่างคือ 25 ปี
เงินสำหรับกินข้าวมื้อละ 50 บาท 25ปี = 50x1095x25=1,368,750 บาท
นี่คือเฉพาะเงินกินข้าว คิดเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น
นี่คือค่าอาหารพื้นฐานข้างถนนเพียงดำรงค์ชีพเท่านั้นโดยไม่มีมื้อพิเศษ หัวละ 299 หรือ 399 บาทนั้น อย่าได้หวังและ
ไม่มีการกินในห้าง ไม่มีการฉลองวันเกิดใดๆจนตายอีกทั้งยังไม่ได้คิดถึงว่าค่าอาหาร ค่าเงินเฟ้อที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการกินอยู่แพงขึ้นในวันข้างหน้า
นอกจากนี้ เราอาจต้องมีรายจ่ายทั้ง 7 ข้อ ตลอด 25 ปีข้างหน้า
1 เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องนุ่งหุ่ม
2 ยารักษาโรคพื้นฐาน ปวดหัว ตัวร้อน
3 ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย
4 ค่าใช้จ่ายการเดินทาง พักผ่อน ไปธุระต่างๆ
5 ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต
6 ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าซ่อมแซมรถ
7 ค่าภาษีสังคมต่างๆ งานบุญ งานศพ งานบวช วันเกิดลูกหลาน
รู้หรือยังครับ ทำไมต้องทำงานหนักเพื่อวันข้างหน้า
รู้หรือยังว่าทำไมต้องรีบทำงาน หาเงิน ตั้งแต่วันนี้
ผมลองกดคำนวณของผมดูมีความเป็นไปได้ที่จะถึง 10 ล้าน อยู่บนพื้นฐานของไม่เจ็บป่วยเรื้อรังติดเตียง แต่เดี๋ยวก่อนพอมาเจอแม่ป่วย 6 เดือนหมดไป 5 แสน นี่คิดหนักเลย ที่หาเก็บมาทั้งหมด อาจมาหมดไปกับหามดหมอ ดังนั้นอย่ามัวแต่เก็บเงิน ทรัพย์ที่ดีที่สุดคือสุขภาพ
เครดิต: Ramet Tanawangsri
เรียบเรียงใหม่จากต้นฉบับไม่ทราบที่มา